ค้นหา >

 

ค้นหา

 








ค้นหาอำเภอ >>  จังหวัด:    อำเภอ:  

อำเภอธารโต  จังหวัดยะลา

 

 

[ ดูแผนที่อำเภอ คลิกที่นี่ ]

คำขวัญจังหวัด  ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน
คำขวัญอำเภอ  บุหงาดาหลา เงาะป่าซาไก ทะเลใหญ่บนหุบเขา ถ้ำยาวธารน้ำลอด
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ  เลขที่ 117 ถ.สุขยางค์ ม.1 ต.ธารโต อ.ธารโต จ.ยะลา 95150
หมายเลขโทรศัพท์  0-7329-7028 , 0-7329-7331 , 0-73297-137
 หมายเลขโทรสาร  0-7329-7028, 0-7329-253, 0-7329-7254
เว็บไซต์อำเภอ    -
 
ข้อมูลทั่วไป

 

1.ประวัติความเป็นมา อำเภอธารโต เดิมเป็นเพียงตำบลหนึ่ง คือ ตำบลแม่หวาด ซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบันนังสตา (อำเภอบันนังสตาจัดตั้งอำเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ขึ้นกับเมืองรามันห์) ตำบลแม่หวาดในขณะนั้นมีชุมชนดั้งเดิมอยู่หลายชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านแม่หวาด(ส่วนใหญ่เป็นคนจีน) ชุมชนบ้านวังไทร ชุมชนบ้านโต ชุมชนบ้านแหร ชุมชนบ้านเยาะ เป็นต้น การเดินทางสัญจรสมัยนั้นส่วนใหญ่ใช้การเดินทางโดยทางเรือในแม่น้ำปัตตานี คำว่า “ธารโต” เป็นชื่อที่มาจากชื่อ “เรือนจำกลางภาคธารโต” ที่กรมราชทัณฑ์ตั้งขึ้นตามสภาพภูมิประเทศที่มีลำธารใหญ่ไหลผ่าน  แต่คนรุ่นเก่าเรียกบริเวณคุกเก่าว่า บ้าน “ไอร์กือดง” หรือ “ไอร์เยอร์กระดง” ซึ่งมาจากภาษามลายู คำว่า “ไอร์” หรือ “ไอร์เยอร์” มีความหมายว่า น้ำหรือลำธารใหญ่ ส่วน “กือดง” หรือ “กระดง” อาจมี ๒ ความหมาย กล่าวคือ หมายถึง บริเวณที่ลำน้ำหลายสายไหลมารวมกันเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรืออาจหมายถึงพืชมีพิษ (พืชสกุลตำแย) ซึ่งสมัยก่อนมีมากในบริเวณแหล่งน้ำดังกล่าว 
  ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ กรมราชทัณฑ์ได้จัดตั้งเรือนจำกลางภาคธารโต ร่วมสมัยสถาน เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล เป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมืองและนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ จึงถูกเรียกขานกันว่า “นรกธารโต” พื้นที่ทัณฑสถานธารโตเป็นป่าทึบ(ทำให้นักโทษหนีลำบาก) มีลำธารไหลผ่าน เต็มไปด้วย เชื้อไข้มาลาเรีย ที่ตั้งหรือที่ทำการของเรือนจำอยู่ที่โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโตในปัจจุบัน(ซึ่งใช้สถานที่ทัณฑสถานเป็นโรงเรียนเปิดสอนเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๐๔) ปัจจุบันยังมีร่องรอยของคุกปรากฏอยู่ ได้แก่ โรงครัว โซ่ตรวน ซึ่งได้มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์คุกธารโตแสดงไว้ที่อาคารโรงครัวอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าว เรือนจำกลางภาคธารโตได้ถูกยกเลิกเมื่อปี พ.ศ๒๔๙๙ เพื่อนำไปจัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเองต่อไป
                   ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ คณะรัฐมนตรีมีมติให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งนิคมสร้างตนเองธารโตโดยรับมอบที่ดินจากกรมราชทัณฑ์มาดำเนินการตามโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาทางสังคมและเพื่อความมั่นคงโดยจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.๒๔๘๕ หลังจากการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองแล้ว ประมาณปี  พ.ศ. ๒๕๑๕  ก็มีการ“เปิดป่า”โดยรัฐบาลให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนเพื่อนำไม้ออกจากป่าและให้นิคมจัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชนที่อพยพมาจากจังหวัดต่าง ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศไทย 
เมื่อวันที่ ๙  มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๘  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอธารโตขึ้นมีนายมณฑล  ชื่นกลิ่น เป็นปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอธารโตคนแรกโดยใช้อาคารไม้ริมถนนสาย ๔๑๐ตรงข้ามชุมชนตลาดธารโตเป็นที่ว่าการกิ่งอำเภอ (ปัจจุบันถูกรื้อสร้างเป็นบ้านพักข้าราชการสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ) ต่อมาย้ายไปใช้อาคารที่ทำการคุกเก่าในโรงเรียนนิคมสร้างตนเองธารโต และเมื่อยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมี นายสวิน วุฒิภูมิ เป็นนายอำเภอคนแรกได้สร้างที่ว่าการอำเภอเป็นอาคารไม้ในบริเวณอำเภอปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๖ได้รื้อสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
อำเภอธารโตตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านปูยุดหมู่ที่ ๑ ถนนสุขยางค์ ตำบลธารโต อำเภอธารโต  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดยะลามีระยะห่างจากศาลากลางจังหวัดยะลา โดยใช้การเดินทางตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๔๑๐ (ถนนสุขยางค์ ยะลา - เบตง) ประมาณ ๖๑ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๖๔๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๐๕,๐๐๐ ไร่
 
2.เนื้อที่/พื้นที่ 648 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน 

ข้อมูลการปกครอง
 
1.ตำบล.......4.... แห่ง 3.เทศบาล..1.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....37.... แห่ง 4.อบต........4 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
 
1.อาชีพหลัก ได้แก่ ทำสวน(ยางพารา/ผลไม้)  การประมงน้ำจืด  การเลี้ยงสัตว์ 
2.อาชีพเสริม ได้แก่ แปรรูปผลิตภัณฑ์ผลไม้,ไม้กวาดดอกหญ้า, 
3.จำนวนธนาคาร
 
มี - แห่ง ได้แก่
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี - แห่ง

ด้านสังคม
 
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่ - โรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ โทร.0-7329-7024
- โรงเรียนสุทธิศาสน์วิทยา    โทร.0-7329-7154
 
2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  -

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
 
- ป่าไม้  

ด้านประชากร
 
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม ๒๓,๑๘๒  คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม ๑๒,๐๖๗  คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม ๑๑,๑๑๕ คน
4.ความหนาแน่นของประชากร ๓๕.๗๗ คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม
 
1.ทางบก - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  410
- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  -
- สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  -
2.ทางน้ำ - ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  -
- ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์  -
3.ทางอากาศ - ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  -

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
 
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ผลไม้ ลองกอง ทุเรียน ฯลฯ 
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)
เขื่อนบางลาง คลองบ้านแหร 
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ - 
   
 

วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/05/2018
 

 

หน้าหลัก | เกี่ยวกับอำเภอดอทคอม | รายชื่ออำเภอ | เตรียมตัวไปอำเภอ | ติดต่อเจ้าหน้าที่

 

webmaster@dopa.go.th  โทร. 0-2282-1047-8, 0-2356-9564 FAX 0-2282-1048 
Copyright © 2003 By www.amphoe.com -> Best view is 800x600 Pixels ->Design by :