ค้นหา >

 

ค้นหา

 








ค้นหาอำเภอ >>  จังหวัด:    อำเภอ:  

อำเภอสิชล  จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

 

[ ดูแผนที่อำเภอ คลิกที่นี่ ]

คำขวัญจังหวัด  เราชาวนคร อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะ ศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียน ทำอันตรายผู้ใด
คำขวัญอำเภอ  สิชลเมืองโบราณ ถ้ำพิศดาร ธารสะอาด หาดหินงาม น้ำตกสวย รวยทรัพยากร
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ  ถนนนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี หมู่ที่ 10 ต.ทุ่งปรัง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
หมายเลขโทรศัพท์  0-7577-1575
 หมายเลขโทรสาร  0-7577-1575
เว็บไซต์อำเภอ    www.schondt.com
 
ข้อมูลทั่วไป

 

1.ประวัติความเป็นมา      อำเภอสิชลจัดตั้งเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2440 ให้จังหวัดนครศรีธรรมราชมี 9 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภอเบี้ยซัด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอสิชล อำเภอลำพูน อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอเขาพังไกร และอำเภอกลาย
     สิชลเมื่อได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ได้ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ฉลองระยะหนึ่ง แล้วย้ายไปที่บ้านปากแพรก (ตลาดสิชลปัจจุบัน) ต่อมาย้ายไปตั้งบ้านบางฉาง(ที่ว่าการอำเภอหลังเก่า) มีหลวงอนุสรสิทธิกรรม (นายบัว ณ นคร) เป็นนายอำเภอคนแรก นับว่าเป็นยุคของการสถานปนาอำเภอสิชล
    
                          ข้อมูลทั่วไปของอำเภอสิชล
      อำเภอสิชลเป็นดินแดนแห่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์และมรดกแห่งวัฒนธรรมมีหลักฐานการอาศัยของมนุษย์ที่สืบค้นได้ ตั้งแต่ยุคหินต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันบนผืนแผ่นดินสิชลนี้เป็นเขตพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะกับการอาศัยของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดประวัติศาสตร์ยาวนานต่อเนื่อง อำเภอสิชลเป็นอำเภอตอนเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ ๗๐๓.๑๐๕ ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๔๗๘,๔๐๐ ไร่  อยู่ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปทางทิศเหนือตามแนวทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๐๑ ประมาณ ๖๓ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ๗๑๗ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
      ทิศเหนือ จดอำเภอขนอม  จังหวัดนครศรีธรรมราช
      ทิศใต้  จดอำเภอท่าศาลา  จังหวัดนครศรีธรรมราช
      ทิศตะวันออก  จดอ่าวไทย
      ทิศตะวันตก  จดอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
      คำว่า สิชล มีความหมายว่า น้ำดี ซึ่งเป็นลักษณะพื้นที่ทั่วไปในเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเขตอำเภอเมือง อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล และอำเภอขนอม  

                               ลักษณะภูมิประเทศ
     โดยทั่วไป เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเป็นที่ราบสูงและมีป่าไม้มาก (เทือกเขานครศรีธรรมราช) พื้นที่ค่อยๆ ลาดต่ำลงมาเป็นที่ราบ ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม ทางด้านทิศตะวันออกจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ลักษณะดินเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าว ยางพารา กาแฟ  สวนผลไม้ มะพร้าว ปาล์ม และอื่น  ๆ
มีภูเขาตั้งอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะตอนเหนือ ที่สำคัญคือ เขาหัวช้าง เขาหลวง เขาดาดฟ้า เขายวนเฒ่า เขาใหญ่  เขาเกียด และเขาคอกวาง อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล
     แม่น้ำลำคลอง ที่สำคัญ คือ คลองท่าเรือรี  คลองท่าเชี่ยว คลองเปลี่ยน คลองท่าทน คลองท่าควาย 

                              ลักษณะภูมิอากาศ
     อำเภอสิชลตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีลักษณะภูมิอากาศแบบโซนร้อน แต่โดยเหตุที่พื้นที่               อยู่ในคาบสมุทรที่ไม่กว้างขวางนัก จึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุม  ลมทะเลตลอดปี และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศ  อีกอย่างหนึ่ง คือ แนวเทือกเขาสูงตอนกลางและตะวันตกของอำเภอ ในรอบปีจึงได้รับลมมรสุม ดังนี้
      ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปกติลมนี้ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศหนาวเย็น เพราะมวลอากาศจากขั้วโลกเหนือพัดผ่านอ่าวไทยสู่ภาคใต้  โดยเฉพาะอำเภอสิชลซึ่งตั้งอยู่ด้านรับลม ทำให้ฝนตกชุกในเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม
      ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ เป็นลมที่ทำให้เกือบทุกภาคของประเทศมีฝนมาก เพราะลมนี้พัดผ่านมหาสมุทรอินเดียและทางทะเลอันดามัน แต่เพราะว่าพื้นที่ในเขตอำเภอสิชลมีภูเขาสูงกั้นทิศทางลมไว้ จึงทำให้ไม่มีฝนตกชุกเท่าที่ควร ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน ด้วยอิทธิพลของลมมรสุมทั้งสองชนิดนี้ จึงทำให้พื้นที่อำเภอสิชลมีฝนตกเกือบตลอดปี มีฤดูกาลเพียง ๒ ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน 
     ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมกราคม ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนัก และหนักมากในเดือนพฤศจิกายน  มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ๒,๔๙๐.๙ มิลลิเมตร/ปี ทำให้มีความชุ่มชื้นตลอดปี 
     ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ ๓๗.๗ องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด ๑๗.๑ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ ๒๗.๔ องศาเซลเซียส  จึงทำให้มีความอบอุ่นตลอดปี

                         ประชากรและการปกครอง
      อำเภอสิชล มีประชากร ๘๗,๕๙๔ คน  แยกเป็น ชาย ๔๓,๔๙๐  คน  หญิง ๔๔,๑๐๔ คน 
     การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
     • เทศบาล จำนวน ๒ แห่ง คือ
      ๑. เทศบาลตำบลสิชล เป็นที่ตั้งของชุมชนในเนื้อที่ ๓ ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลสิชล  
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ ๑ , หมู่ที่ ๓ , และ หมู่ที่ ๕ บางส่วน
      ๒. เทศบาลตำบลทุ่งใส  
• องค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน ๘ แห่ง คือ
      ๑. องค์การบริหารส่วนตำบลสิชล
      ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปรัง
     ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง
      ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลเสาเภา
      ๕. องค์การบริหารส่วนตำบลเปลี่ยน
     ๖. องค์การบริหารส่วนตำบลสี่ขีด
      ๗. องค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช
      ๘. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย
     
                   ด้านโครงการพื้นฐานและสาธารณูปโภค
      ๑) ไฟฟ้า
   จำนวนครัวเรือนทั้งหมด    ๒๓,๑๘๘  ครัวเรือน
    ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้       ๒๒,๑๙๓  ครัวเรือน
    ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้         ๙๙๕  ครัวเรือน
     ๒)  ประปา มีประปาหมู่บ้าน  จำนวน  ๔,๖๓๒  ครัวเรือน
     ๓)  โทรศัพท์พื้นฐาน/โทรศัพท์สาธารณะ
- โทรศัพท์พื้นฐาน  มีจำนวน  ๕,๐๐๐  เลขหมาย
- โทรศัพท์สาธารณะ  มีจำนวน   ๘๓   เลขหมาย  
     ๓)  การคมนาคม
  มีถนนสายหลัก ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง จำนวน ๓  สาย  ระยะทางทั้งหมด  
๔๘ กิโลเมตร   ถนนสายรอง ในความรับผิดชอบของ หน่วยงานต่าง ๆ รวม  ๓๒๕ สาย  ระยะทางทั้งหมด  ๓๔,๐๖๕  กิโลเมตร

                    การประกอบอาชีพของอำเภอสิชล มีดังนี้  
ด้านเกษตรกรรม   
      อำเภอสิชลประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก มีการทำสวนโดยทั่วไป เช่น สวนมะพร้าว ยางพารา  สวนผลไม้และการทำนาก็มีอยู่ทั่วไป  แต่การทำการเกษตรยังต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก  เนื่องจาก ยังไม่มีระบบชลประทานทั่วถึง พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ มะพร้าว ยางพารา ปาล์ม และผลไม้ซึ่งเป็นสินค้าออกที่มีรายได้ปีละหลายล้านบาท พื้นที่ทำการเกษตรอำเภอสิชลมีประมาณ ๒๗๕,๐๗๑  แบ่งออกเป็นพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
      -  ข้าว ประมาณ   ๓,๖๘๑ ไร่
      -  มังคุด ประมาณ ๑๖,๙๒๘ ไร่
      -  ทุเรียน ประมาณ ๑๑,๑๑๕ ไร่
      -  เงาะ ประมาณ   ๖,๐๑๒ ไร่
      -  ลองกอง ประมาณ   ๖,๔๙๖ ไร่
      -  ลางสาด ประมาณ     ๓๖๗ ไร่
      -  มะนาว ประมาณ   ๑,๖๓๐ ไร่
-  ยางพารา ประมาณ  ๑๓๗,๘๘๘  ไร่
-  ปาล์ม ประมาณ ๖๓,๒๘๕ ไร่
-  มะพร้าว ประมาณ ๑๘,๘๗๗ ไร่
-  สะตอ ประมาณ  ๑,๔๓๗ ไร่
-  พืชไร่/พืชผัก ประมาณ  ๗,๓๕๕  ไร่

       การดำเนินการสถาบันเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ปี ๕๗
๑. สถาบันเกษตรกร
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ๘ กลุ่ม
- กลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน ๒ กลุ่ม
- กลุ่มส่งเสริมอาชีพ ๑๑ กลุ่ม
๒. วิสาหกิจชุมชน ๖๔ แห่ง และ ๑ กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ
-เพิกถอนทะเบียน - แห่ง
- จดทะเบียนเพิ่ม ๗  แห่ง
- ยื่นคำร้องขอต่อทะเบียน ๒๗ แห่ง
- ยังไม่ยื่นคำร้องขอต่อทะเบียน ๓๗ แห่ง 
ด้านประมง    
ราษฎรของอำเภอสิชลที่อาศัยอยู่ในที่ราบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยส่วนมากประกอบอาชีพการประมง การประมงของอำเภอสิชลประกอบด้วย
-  เรือประมงอวนลาก   จำนวน ๑๕๐  ลำ
-  เรืออวนลอยชายฝั่ง   จำนวน ๔๓๗  ลำ
-  เกษตรกรเลี้ยงกุ้งทะเล   จำนวน  ๘๕  ราย
-  เกษตรกรเลี้ยงสัตว์น้ำจืด    จำนวน  ๕๔๔  ราย
-  ฟาร์มเพาะและอนุบาลกุ้งทะเล  จำนวน  ๒๘ ราย
-  เกษตรกรเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง  จำนวน ๑๓  ราย
-  เกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง (ไม่ขึ้นทะเบียน)  จำนวน  ๒๐ ราย
-  ผู้ประกอบการค้าสินค้าสัตว์น้ำ (แพ,ล้ง)  จำนวน ๑๖ ราย
ด้านปศุสัตว์ 
อำเภอสิชลมีการเลี้ยงสัตว์ทั้งเพื่อการค้าและการบริโภคในครัวเรือน สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ 
- ไก่  จำนวน ๗๔๔,๖๙๕ ตัว
- เป็ด จำนวน ๕๒,๖๓๔ ตัว 
- สุกร จำนวน ๖๘,๔๕๑ ตัว
- โค  จำนวน   ๖,๐๑๒ ตัว
- กระบือ จำนวน ๒๙๓ ตัว
- แพะ จำนวน ๔๑๗ ตัว
- แกะ จำนวน ๕ ตัว
ด้านอุตสาหกรรม   
อำเภอสิชลมีการประกอบอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม อุตสาหกรรมค้าไม้ การต่อเรือ และอุตสาหกรรมการประมง  มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมทั้งอุตสาหกรรมในครัวเรือน  ดังนี้
-  อุตสาหกรรมการประมง  เช่น ท่าขึ้นปลา ๗ แห่ง ,โรงปลาป่น ๓ โรง และโรงน้ำแข็ง ๕  โรง
-  อุตสาหกรรมการบริการ ๑๑ แห่ง (บริการโรงแรม และปั๊มน้ำมัน)
-  อุตสาหกรรมการก่อสร้าง  ๖  แห่ง
-  อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม  ๑ แห่ง 
การบริการ การค้า พาณิชยกรรม
     ๑) สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
     ๒) ตลาดนัด
- ตลาดสิชล (ตลาดบน)
- ตลาดปากน้ำ
- ตลาดต้นเหรียง
- ตลาดหิน
- ตลาดเขาฝ้าย
- ตลาดจันทร์
- ตลาดเปิดท้ายของตลาดสิชล  ทุกวันจันทร์ และวันศุกร์
การคลังและการธนาคาร   อำเภอสิชลมีธนาคารพาณิชย์ ๒ แห่ง  คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสิชล     และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสิชล  ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ๔  แห่ง  คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสิชล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาต้นเหรียง  ธนาคารออมสิน สาขาสิชล 
และธนาคารกรุงไทย สาขาสิชล

สภาพปัญหาด้านเศรษฐกิจ
  ๑)  ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น ผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มีราคาตกต่ำทำให้เกษตรกร  ประสบปัญหาขาดทุนการผลิต
  ๒)  ปัญหาประชาชนขาดการฝึกอบรมทางด้านอาชีพต่าง ๆ
  ๓)  ปัญหาขาดการกระจายรายได้ของประชาชนไม่มีความเท่าเทียม และเสมอภาค
  ๔)  ปัญหาความยากจน  ในพื้นที่สิชลจากการสำรวจผู้ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี ๒๕๕๖ และจากการดำเนินการจัดประชุมเวทีประชาคมเพื่อกลั่นกรองครัวเรือนยากจน มีทั้งสิ้น ๘๖ ครัวเรือน
ความต้องการด้านเศรษฐกิจ
  ๑)  ปรับโครงสร้างภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้มี บทบาทในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ
  ๒) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพ ศักยภาพทาง การตลาดสูง
และมีโอกาสเพิ่มมูลค่า เช่น ยางพารา ปาล์ม  การเลี้ยงโค ข้าว ผลไม้ตามฤดูกาล พืชทางด้านเกษตร  เป็นต้น
  ๓)  ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร  เพื่อให้เกิดแนวทางในการนำไปสู่ขบวนการวิสาหกิจชุมชนพัฒนา ไปสู่การลงทุนธุรกิจการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  ๔)  ให้มีการกระจายรายได้ของประชากรให้มีความเท่าเทียม และเกิดความเสมอภาค

แนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปัญหาและสถานการณ์ในอนาคต
๑) สินค้าพื้นเมือง และสินค้า OTOP
อำเภอสิชลมีแหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ทำให้ชาวอำเภอสิชลนำวัตถุดิบมาประดิษฐ์เป็นรูปพรรณต่าง ๆ อาทิ  ประติมากรรมจากรกมะพร้าว  ไม้กวาดดอกหญ้า  กะปิเทพราช  หมูเนื้อสรรค์ และถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง เป็นต้น และส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ OTOP โดยการปรับปรุงสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์เชิงรุก ส่งเสริมการตลาดและพัฒนาระบบตลาดจริงและตลาดสินค้าเกษตรให้มีประสิทธิภาพ
๒) ศักยภาพการคมนาคม – ขนส่ง
สามารถติดต่อได้สะดวกรวดเร็ว มีถนนเชื่อมโยงทุกพื้นที่ มีถนนสายหลัก  ตัดผ่านตัวอำเภอ และตำบลต่าง ๆ
๓) ด้านการท่องเที่ยว
ตามตำนานเมืองสิชลเป็นเมืองโบราณที่สร้างมานานนับพันปี ปัจจุบันจึงมีสิ่งปรักหักพังเป็นเค้าโครงว่าเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณหลายแห่ง  และเนื่องจากภูมิประเทศอยู่ริมทะเลจึงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม  เช่น
๑. โบราณสถานเขาคา  ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑๑ ตำบลเสาเภา  เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเสด็จมาพิธีเปิดป้าย เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๐
๒. ถ้ำเขาพรง  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘  ตำบลทุ่งปรัง  ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิชล ๗ กิโลเมตร เป็นถ้ำภายในภูเขา มีช่วงชั้นสลับซับซ้อน กว้าง ๑ วา ยาว ๖ เส้น  มีหินย้อยงดงามมาก มีพระพุทธรูปยืน
๓. ถ้ำเขาเปลือกไม้  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖  ตำบลสิชล  ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิชล ๖ กิโลเมตร มีพระพุทธรูป ยาว ๑๐ วา และมีการทำบุญตามเทศกาล
๔. น้ำตกสี่ขีด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒  ตำบลสี่ขีด  แหล่งของน้ำตกสี่ขีดเริ่มจากเทือกเขาบรรทัด (เขาใหญ่) ตรงรอยต่อของอำเภอสิชล และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิชลประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
๕. หาดหินงามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอำเภอสิชล  บริเวณเชิงเขาคอกวางมีหาดทรายสวยงามมาก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอากาศดี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ  ซึ่งประชาชนในพื้นที่อำเภอสิชล และอำเภอใกล้เคียง
มาพักผ่อนกันมากโดยเฉพาะในวันหยุดราชการ
๖. สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ป่านครศรีธรรมราช (เขาพลายดำ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘  ตำบลทุ่งใส 
ภายในสถานีฯ มีการจัดนิทรรศการ ประวัติความเป็นมา
๗. อ่าวท้องยาง (เขาพลายดำ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งใส  ด้านหน้าบริเวณโรงเรียนบ้านท้องยางเดิม มีหาดทรายสวยงามยาวตลอดแนว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอากาศดีมากเหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ป่านครศรีธรรมราช  ซึ่งมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร
๘. บ่อน้ำร้อนสี่ขีด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลสี่ขีด ประชากรในพื้นที่มักจะมาพักผ่อนและผ่อนคลายในวันหยุดราชการ
๙. สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่  ถ้ำเขาใด  ถ้ำธารลอด  ถ้ำจอมทอง  ถ้ำวัดเขาน้อย หาดปลายทอน  หาดเทพา  หาดสุชน หาดเสาเภา ถ้ำวัดถ้ำเทียนถวาย

                        ข้อมูลด้านสังคม
ด้านการศึกษา
อำเภอสิชล มีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ดังนี้
- โรงเรียนระดับอนุบาล จำนวน     ๗      แห่ง
- โรงเรียนระดับประถม จำนวน     ๓๘    แห่ง
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน  ๔     แห่ง 
- อุดมศึกษา (วิทยาลัยเทคนิคและโรงเรียนพาณิชยการ)    ๒  แห่ง
การศึกษานอกระบบ
-  ห้องสมุดประชาชน  ๑ แห่ง
-  การศึกษาสายสามัญต่อเนื่อง ประเภททางไกล  ระดับประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 -  โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา  ประกาศนียบัตรอาชีพ (ป.อ.)
-  การขยายโอกาสทางการศึกษา  วิชาชีพระยะสั้นและกลุ่มสนใจ
-  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน  ๖๓  แห่ง
การศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๙๕   นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๔.๗๕  และอื่น ๆ ร้อยละ ๐.๒๕ โดยมีศาสนสถาน จำนวน ๕๕  แห่ง  ดังนี้
-  วัด จำนวน   ๓๙  วัด
-  ที่สำนักสงฆ์   จำนวน     ๔   แห่ง
-  มัสยิด จำนวน     ๖   แห่ง
-  ศาลเจ้า จำนวน     ๖   แห่ง
-  โบสถ์คริสต์ศาสนา    จำนวน     ๑   แห่ง
ด้านประเพณีวัฒนธรรม
มีการจัดงานประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีให้ทานไฟ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ  ประเพณีวันลอยกระทง ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
 ศิลปะพื้นเมือง  เช่น  มโนราห์ เพลงบอก กลองยาว ดนตรีไทย หนังตะลุง งานวันสำคัญทางศาสนา เช่น 
การแห่หมฺรับ ประเพณีสงกรานต์  

                                สภาพปัญหาด้านสังคม
   ๑)  ปัญหายาเสพติด  วัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยงนิยมใช้ใบกระท่อมมาผสมกับยาแก้ไอ เพื่อผสมเป็น สูตรยา          ๔X๑๐๐ ในการนำมาดื่มกิน
   ๒)  ปัญหาขาดการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้  การอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม และพัฒนาภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
   ๓)  ปัญหาการว่างงาน
   ๔)  ปัญหาขาดการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน
ความต้องการด้านสังคม
   ๑) ให้อำเภอสิชลเป็นอำเภอปลอดยาเสพติด
   ๒)  ส่งเสริมสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การอนุรักษ์ สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามและพัฒนา
ภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
   ๓)  ให้ประชาชนในวัยทำงานมีงานทำทุกคน
   ๔)  มีการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมนักปราชญ์ในท้องถิ่น
แนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงของปัญหาและสถานการณ์ในอนาคต
                        ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
      อำเภอสิชลมีโรงเรียนในสังกัดการประถมศึกษากระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ทำให้เด็กในวัยเรียนมีสถานศึกษาเพียงพอและสะดวกที่จะเข้ารับการศึกษาตามภาคบังคับ มีโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาเพียงพอที่จะรองรับนักเรียน ที่จะศึกษาต่อระดับมัธยมได้ จึงมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้ อีกทั้งมีนักปราชญ์   (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) หลายท่าน ซึ่งลูกหลานสามารถเรียนรู้และรับการถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญหาท้องถิ่น ที่ใช้วัสดุหรือวัตถุดิบจากธรรมชาติ สามารถนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มีความรู้ จริยธรรม   เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิด และให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวอบอุ่น ปลูกฝังความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
                              ด้านการบริหารจัดการ
      เน้นย้ำให้ข้าราชการในพื้นที่มีการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ปราศจากการทุจริต  และประพฤติมิชอบ รวมทั้งการส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลในภาคเอกชนและภาครัฐในทุกระดับ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาและสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอันจะนำไปสู่  การเพิ่มประสิทธิภาพของข้าราชการ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนให้ประชาชนผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องานบริการโดยได้รับความสะดวก รวมเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม

              ข้อมูลด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย
  การแก้ไขปัญหายาเสพติด
     สภาพปัญหา  มีการแพร่ระบาดยาบ้าในหมู่บ้านที่มีถนน เอเชีย ๔๐๑  ตัดผ่านในพื้นที่ตำบล
      ผลการดำเนินการ  ได้ดำเนินการปราบปรามผู้ค้าซึ่งเป็นผู้ค้ารายย่อย โดยดำเนินการติดตามพฤติกรรมและแจ้งเบาะแสให้ชุดปฏิบัติการติดตามาจับกุม และให้วิธีการกดดันในพื้นที่ เช่น เฝ้าจุด สะกดรอยสำหรับผู้เสพยาเสพติดดำเนินการกดดัน โน้มน้าว ให้มอบตัว เพื่อเข้ารับการบำบัดรักษา ตลอดจนออกตรวจ ลาดตะเวน ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด   ในพื้นที่เสี่ยงและมั่วสุม  เป็นต้น

                          การจัดระเบียบสังคม 
     สภาพปัญหา  ในพื้นที่อำเภอสิชลมีสถานประกอบการประเภทต่างๆ ซึ่งได้แก่ ประเภทแพร่ภาพ  (คาราโอเกะ) จำนวน ๒๕ แห่ง ,ประเภทแพร่ภาพ (เกมส์) จำนวน  ๒๒  แห่ง และสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการและแหล่ง-มั่วสุมอื่น ๆ ตามมาตรา ๓(๔) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ จำนวน  ๔  แห่ง โดยสถานประกอบการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการมั่วสุม
     ผลการดำเนินการ   อำเภอสิชลได้ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรสิชล ในการจัดทำบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเรื่องการร่วมกันดำเนินการจัดระเบียบสังคม สถานบริการ โรงแรม หอพักและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ค้าประเวณี แรงงานต่างด้าว และอำเภอได้บูรณาการร่วมกับสถานีตำรวจภูธร-สิชล  สาธารณสุขอำเภอและส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้จัดชุดปฏิบัติการระดับหมู่บ้าน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการในการออกตรวจตามสถานบริการต่างๆ และที่เป็นแหล่งมั่วสุมของกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่ต่างๆ ของหมู่บ้าน หากพบการกระทำความผิดให้ดำเนินการตามกฎหมาย
                   ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     ทรัพยากรธรรมชาติ
๑) ทรัพยากรดิน อำเภอสิชล แบ่งดินออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
     - ดินในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากตะกอนที่มาจากแม่น้ำลำคลอง ค่อย ๆ สูงขึ้นดินจำพวกนี้ถ้าอยู่ในสภาพแช่น้ำจะไม่แสดงความเป็นกรด ศักยภาพของดินจะใช้ประโยชน์ในการทำนาได้เพียงบางส่วน แต่ให้ผลผลิตต่ำไม่คุ้ม            กับการลงทุน จึงเหมาะแก่การปลูกพืชยืนต้น เช่น มะพร้าว
     - ดินบริเวณที่ราบสูงเชิงเขา เหมาะสำหรับการปลูกยางพารา และปาล์ม
 ๒) ทรัพยากรน้ำ อำเภอสิชลมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร คือ ลำคลอง จำนวน ๕ สาย ได้แก่ คลองท่าเรือรี คลองท่าเชี่ยว คลองท่าทน คลองเปลี่ยน และคลองท่าควาย ซึ่งมีน้ำใช้ตลอดปี 
๓) ทรัพยากรป่าไม้ อำเภอสิชลมีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่  ป่าสงวนแห่งชาติ
             ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑) ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่ออยู่อาศัย และเป็นที่ทำกิน  การทำประมงอวนลาก อวนรุนในเขตห้ามทำการ ประมง ทำให้ทรัพยากรทางทะเลได้รับความเสียหาย
๒) ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งอำเภอสิชลมีที่สาธารณประโยชน์จำนวน ๓๔ แปลง เนื้อที่ทั้งหมด
๑๐,๑๕๔ ไร่ มีการบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยและเป็นที่ดินทำกิน ประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สาธารณประโยชน์
๓)  ปัญหาที่ทิ้งขยะเป็นปัญหาใหญ่ของเทศบาลตำบลสิชล เนื่องจากที่ทิ้งขยะในปัจจุบันอยู่ใกล้แหล่งชุมชน 
๔)  ปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูน้ำหลาก

 
2.เนื้อที่/พื้นที่ 703.105 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ภูมิอากาศแบบโซนร้อน 

ข้อมูลการปกครอง
 
1.ตำบล.......9.... แห่ง 3.เทศบาล..2.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....110.... แห่ง 4.อบต........8 ... แห่ง

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
 
1.อาชีพหลัก ได้แก่ 1.  เกษตรกรรม
2.  ประมง
3.  การพาณิชยกรรม
 
2.อาชีพเสริม ได้แก่ 1. ค้าขาย 
3.จำนวนธนาคาร
 
มี 5 แห่ง ได้แก่
1.  ธนาคาร ธกส.                  โทร. 0-7553-6369
2.  ธนาคารกรุงเทพฯ             โทร. 0-7553-6030
3.  ธนาคารออมสิน                โทร. 0-7553-6233
4.  ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ        โทร. 0-7553-6022
5.  ธนาคารกรุงไทย จำกัด       โทร. 0-7553-5330
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี 1 แห่ง

ด้านสังคม
 
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่ 1.  โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา          โทร. 0-7536-7523
2.  โรงเรียนสิชลประชาสรรค์            โทร. 0-7537-6186
3.  โรงเรียนฉลองรัฐราษฎร์อุทิศ         โทร. 0-7547-6663
4.  โรงเรียนเทพราชพิทยาสรรค์         โทร. 0-7534-9359
 
2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  -

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
 
1.  แร่เหล็ก
2.  แร่วุลแฟลม
3.  แร่ดีบุก
 

ด้านประชากร
 
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 88,300  คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 43,826  คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 44,474 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 124.57 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม
 
1.ทางบก - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  401
- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  -
- สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  -
2.ทางน้ำ - ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  -
- ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์  -
3.ทางอากาศ - ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  -

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
 
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ 1.  ยางพารา
2.  มังคุด
3.  ทุเรียน
 
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)
1.  คลองท่าทน
2.  คลองท่าเชี่ยว
3.  คลองท่าควาย
4.  คลองท่าเรือรี
5.  คลองท่าหิน
 
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ .สามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์นี้
 http://factory.thaidbs.com/amphurs/?q=สิชล

 
   
 

วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/01/2016
 

 

หน้าหลัก | เกี่ยวกับอำเภอดอทคอม | รายชื่ออำเภอ | เตรียมตัวไปอำเภอ | ติดต่อเจ้าหน้าที่

 

webmaster@dopa.go.th  โทร. 0-2282-1047-8, 0-2356-9564 FAX 0-2282-1048 
Copyright © 2003 By www.amphoe.com -> Best view is 800x600 Pixels ->Design by :